วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โรคผิวหนังในสุนัข และการรักษา

ขี้เรื้อนหรือโรคผิวหนังในสุนัข มักเป็นปัญหาที่เกิดจากเชื้อรา แบคที่เรีย

 

โรคผิวหนังและการรักษา
โรคผิวหนังที่สุนัขเป็นกันบ่อย คือโรคผิวหนังที่เกิดการอักเสบ
ลักษณะอาการที่สำคัญ คือมีเม็ดตุ่มขึ้นที่ผิวหนัง
น้ำเหลืองไหลเยิ้ม ต่อมาจะแห้ง
แล้วแตกเป็นสะเก็ดและรังแค หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “เอ็คซีม่า” (Eczema)

 เอ็คซีม่าในสุนัขแบ่งออกเป็น 5 ชนิดด้วยกัน
1. แบบเฉียบพลัน
2. แบบแห้ง
3. แบบภูมิแพ้
4. เอ็คซีม่าที่ถุงอัณฑะ และที่นิ้วเท้าและง่ามนิ้ว


1. เอ็คซีม่าแบบเฉียบพลัน
เกิดจากการให้อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตที่อัตราสูงมากๆ ตลอดเวลา หรือพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ การให้อาหารที่มีแป้งมากเกินไปนั่นเอง ถ้าให้อาหารจำพวกแป้งมากเกินไป ภายใน 1 เดือน ก็จะเกิดเอ็คซีม่าแบบเฉียบพลันได้ หรืออาจจะเกิดจากที่มีเห็บและเหาที่ผิวหนังมากมาย ทำให้เกิดการระคายเคือง ผิวหนังจึงอักเสบ

อาการของเอ็คซีม่าแบบเฉียบพลัน
สุนัขจะกัดเล็มและเกาผิวหนังอย่างแรงและบ่อย  ผิวหนังที่เป็นเอ็คซีม่าจะเป็นแผลเยิ้มจำกัดบริเวณมีสะเก็ด ผิวหนังหลุดร่วงออก บางทีพบตัวเห็บเกาะแน่นเป็นกลุ่มๆ หรือเหาวิ่งไปมาอยู่มากมาย

การรักษา
ควรลดอาหารจำพวกแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตลงมา และให้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการตามที่สุนัขต้องการ ควรตัดขนบริเวณที่อักเสบให้สั้นแล้วล้างแผลดด้วยไฮโดรเยน มีขายตามร้านขายยาแผนปัจจุบัน แล้วให้ยาที่ช่วยลดอาการอักเสบจำพวกคอร์ติโซน ซึ่งเป็นสเตียรอยด์หรือฮฮร์โมนอย่างหนึ่ง โดยการฉีดหรือกินติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง นอกจากนี้ยังต้องกำจัดเห็บเหา ซึ่งเป็นสาเหตุโน้มนำของโรคด้วยแชมพูกำจัดเห็บเหา ควรอาบน้ำให้สุนัขอย่างน้อย
สัปดาห์ละครั้ง หลังอาบน้ำควรโรยด้วยแป้งฝุ่นกำจัดเห็บเหา ตามตัวและอุ้งเท้า เพื่อป้องกันไม่ให้มาเกาะซ้ำอีก


2. เอ็คซีม่าแบบแห้ง
โรคผิวหนังชนิดนี้ มีลักษณะเฉพาะที่ยากแก่การรักษาให้หายขาดในระยะเวลาอันสั้น และยังอาจสับสนกับโรคผิวหนังชนิดอื่น บางครั้งทำให้การวินิจฉัยโรคคลาดเคลื่อนได้

สาเหตุ :  ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่อาจจะเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ โดยเฉพาะสุนัขที่มีสายเลือดแท้ต่างๆ การให้อาหารจำพวกแป้งมากๆ ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคก็ได้

อาการ : สุนัขจะเกาบริเวณเอ็คซีม่าตลอดเวลา ผิวหนังจะแห้งเป็นสะเก็ด ขนจะร่วงเป็นวงกว้าง เช่น บริเวณคอ กลางหลัง เป็นต้น ผิวหนังจะแดง เพราะมีเลือดมาเลี้ยงมากกว่าปกติ

การรักษา เนื่องจากลักษณะอาการของโรคนี้ อาจทำให้สับสนกับโรคผิวหนังอื่นๆ ก่อนการรักษาควรให้สัตวแพทย์ขูดผิวหนัง เพื่อตรวจหาสาเหตุการคันให้แน่ใจเสียก่อน เพราะการคันอาจจะเกิดจากตัวไรขี้เรื้อนสุนัข หรือมีเชื้อรา

การรักษา
ประกอบด้วยการใช้ยาต้านการอักเสบจำพวกสเตียรอยด์ โดยการฉีดหรือให้ลูกสุนัขกินติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่การใช้ยากลุ่มนี้แม้จะมีประโยชน์มาก หากใช้ไม่ถูกต้องก็อาจจะเกิดโทษได้ เช่น ถ้าให้ในระยะเวลานานๆ  สัตว์จะมีภาวะไตวายเกิดขึ้น การใช้สเตียรอยด์จึงควรอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิดของสัตวแพทย์เป็นดีที่สุด นอกจากนี้ ผู้เลี้ยงควรเปลี่ยนอาหารให้มีคุณค่าทางโภชนาการร่วมด้วย



3. เอ็คซีม่าแบบภูมิแพ้
สาเหตุ :  เกิดจากสารบางชนิดที่ทำให้เกิดอาการแพ้  ส่วนมากมักจะพบว่าสุนัขมีอาการแพ้
หลังจากการวิ่งเล่นในสวนหรือสนามหญ้าที่รกรุงรัง และเกิดอาการแพ้เนื่องจากสัมผัสกับฟางข้าว เกสรดอกไม้ หรือละอองสารเคมี

อาการ :  ปรากฏเม็ดตุ่มแดงขึ้นตามผิวหนังโดยทันที โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง ขาหนีบ
สัตว์ที่ป่วยแสดงอาการคันและเกาอย่างแรงตลอดเวลา

การรักษา
เปลี่ยนสถานที่นอนของสุนัขโดยทันที วัสดุที่ใช้รองพื้นที่นอนต้องเปลี่ยนทุกวัน อย่าให้ชื้นแฉะ
ระวังอย่าให้สุนัขกลับเข้าไปเล่นในพงหญ้าหรือกองฟางอีก

ยาที่ใช้ได้ผลดี คือกลุ่มยาคอร์ติโซน เช่น เด็กซ่าเมธาโซนครีมขององค์การเภสัชกรรม
หรือเฟร็ดนิโซโลนครีมขององค์การเภสัชกรรม ร่วมกับยาแก้แพ้ เช่น ยาคลอเฟนิรามีน มาลีเอต
หรือที่เรียกกันจนติดปากว่ายาคลอเฟ ราคาก็ถูกแสนถูก อาจจะ 4 เม็ด 1 บาท ให้กินครั้งละเม็ด วันละสองครั้ง ยานี้มีขายตามร้านขายยาแผนปัจจุบันทั่วไป อาการแพ้ก็จะหายไปอย่างรวดเร็ว



4. เอ็คซีม่าที่ถุงอัณฑะและที่ง่ามนิ้วเท้า
ลักษณะอาการอักเสบคล้ายคลึงกับเอ็คซีม่าแบบเฉียบพลัน คือผิวหนังถุงอัณฑะอักเสบ มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม

สาเหตุและการรักษา
เช่นเดียวกับการรักษาโรคเอ็คซีม่าแบบเฉียบพลัน เอ็คซีม่าง่ามนิ้วเท้า เป็นการอักเสบของหนังระหว่างนิ้วเท้าหรือง่ามนิ้ว สาเหตุส่วนใหญ่มาจากตัวไรที่เป็นสาเหตุของโรคเรื้อน และการได้รับอาหารจำพวกแป้งมากๆ

การรักษา เช่นเดียวกับการรักษาโรคเอ็คซีม่าอื่นๆ
คือใช้ยาต้านการอักเสบ และแก้ไขอาหารให้เหมาะสมถูกต้องตามหลักโภชนาการ



โรคผิวหนังชนิดผื่นคัน (Eczema) เอ็คซีม่า หากจะแบ่งกว้างๆ  คงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
ชนิดแรก ได้แก่ ชนิดเฉียบพลัน หรือชนิดเปื่อย
ส่วนอีกชนิดหนึ่งได้แก่ ชนิดแห้ง

ชนิดเปื่อย ผื่นจะปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็ว ขนจะร่วงและผิวหนังที่ปราศจากขนจะชุ่มเป็นมันเยิ้ม
และคันอย่างสุดขีด เอ็คซีม่าชนิดแห้งมักจะคล้ายกับหิด เอ็คซีม่าชนิดนี้เมื่อเป็นตามผิวหนังแล้วขนจะร่วงหลุดไป แล้วจะคันอย่างมาก ผิวหนังจะแห้งเป็นสะเก็ดลุกลามไปเรื่อย โรคผิวหนังทั้งสองชนิดชอบเกิดในฤดูร้อนมากกว่าฤดูหนาว


เอ็คซีม่าชนิดเปื่อย ชอบเกิดในสุนัขขนยาว
ส่วนเอ็คซีม่าชนิดแห้งชอบเกิดกับสุนัขพันธุ์ขนหยาบ

ส่วนใหญ่จะเกิดหลังและไหล่

ชนิดเปื่อยชนิดหนึ่งของโรคนี้จะพบเห็น มีสีน้ำตาลรอบๆ รูหูและระหว่างนิ้วเท้า เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการตรวจพบว่าโรคเอ็คซีม่าเกิดจากผิวหนังดูดเอาพิษจากอาหารชนิดที่มีโปรตีนบางอย่างซึ่งเป็นพิษ สุนัขบางตัวซึ่งไม่ถูกโรคกันและได้ดูดพิษไว้มาก เท่าที่พบและได้ทดลองมา
โปรตีนบางอย่างที่ได้มาจากข้าวและโปรตีนในปลาบางชนิด  คือกินแล้วทำให้ไม่สบาย

การแพ้นี้เป็นเฉพาะสุนัขบางตัวเท่านั้น บ้างก็ว่าการให้อาหารมากเกินไป ให้เนื้อกินมากเกินไป
หรือให้อาหารจำพวกแป้งมากเกินไป และการขาดวิตามินหรือเกลือแร่ แต่ความคิดเหล่านี้กำลังเปลี่ยนไปเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ผลงานวิจัยและจากประสบการณ์ในทางปฏิบัติแสดงให้เห็นว่าโรคเอ็คซีม่าเกือบทุกชนิดเกิดจากการติดเชื้อของผิวหนัง มีการยืนยันอย่างแน่ชัดว่าโรคเอ็คซีม่าที่พบเห็นบ่อยๆ เกิดจากสปอร์หรือส่วนสำหรับขยายพันธุ์ของเชื้อรา ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า อัลเทอร์นาเรียเทนิวอีส (Alternaria tenuis) ซึ่งอาศัยในใบไม้หญ้าที่ตายแล้ว เชื้อราชนิดนี้มีขนาดเล็กมาก จนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เหมือนกับเชื้อราโดยทั่วไปที่ชอบเจริญงอกงามได้ในอากาศที่ร้อนและชื้น

การรักษาทั่วไป ในระยะแรกให้ตัดรายการอาหารประเภทแป้งออกไป
ให้อาหารประเภทโปรตีนเพิ่มขึ้น 

ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ใช้ได้ดี สำหรับกรณีขี้เรือนเปียก คือ dry-ec oil

และสำหรับชนิดเปียก ควรใช้ เป็น wet-ec lotion

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การตกแต่งจุกของสุนัขชิห์สุแบบธรรมดา




1. ใช้หวีแบ่งขนจากขอบนอกระหว่างตาทั้ง 2 ข้าง(ระวังหวีจะทิ่มเข้าตา)

2. รวบขนที่แบ่งไว้ ไปด้านหลัง และหวีขนรอบนอก และขนบริเวณเหนือใบหูให้เรียบร้อย

3. แบ่งครึ่งส่วนของขน ที่แบ่งไว้ในขั้นตอนที่ 1 แล้วหวีขนส่วนหน้าให้เรียบร้อย โดยทดสอบดูด้วยว่าไม่มีสังกะตังแล้ว

4. ใช้ยางรัดขนสุนัข (หรือยางรัดฟันของคนก็ได้) โดยรัด 2-3 รอบ แล้วแต่ขนาดของหนังยาง หลังจากนั้นให้ดึงขนด้านหลังของส่วนหน้านี้ กระจุกเล็กๆ ดึงขึ้นตรงๆ หรือถ้าต้องการให้มีส่วนโป่งด้านหน้า เพื่อให้ดูน่ารักขึ้นอีกนิด  ก็อาจใช้หวีหางหนูช่วยดึงขนด้านหน้าออกมาเล็กน้อยก็ได้

5. ขั้นตอนต่อไป ก็คือเก็บส่วนที่เหลือด้านหลัง  โดยวิธีการเดียวกับการเก็บขนด้านหน้าคือ หลังจากรัดหนังยาง  แล้วให้ดึงขนกระจุกเล็กๆ ด้านหน้าของส่วนหลังนี้  โดยให้ดึงขึ้นตรงๆ

6. สุดท้าย ถ้าจะให้ดูมีสีสันสักหน่อย  ก็อาจผูกโบว์สีสวยๆ ไว้ที่จุกด้านหน้าก็ได้  แล้วจึงรัดจุกส่วนหน้ากับส่วนหลังเข้าด้วยกัน แค่นี้ก็เสร็จเรียบร้อย

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การตกแต่งจุกของสุนัขชิห์สุเพื่อการประกวด




1. หลังจากแน่ใจแล้วว่าขนบริเวณ หน้าและหัวของชิห์สุแห้งจริงๆ ให้แบ่งขนจุกส่วนหน้าจากขอบตาและแต่ละด้านเข้าไปไม่ต้องมากนัก

2. ยีขนส่วนนี้เบาๆ ให้ทั่ว

3. ค่อยๆ ใช้หวีหางหนูหวีขนรอบนอกออกให้เรียบ

4. ใช้ยางรัดขนประมาณ 3/4 นิ้วเหนือขึ้นไปจากหนังศีรษะ โดยรัดหนังยาง 2-3 รอบ

5. สำหรับขั้นตอนนี้ค่อนข้างจะสำคัญ โดยจับขนประมาณ 8-10 เส้นหรือ กระจุกเล็กๆ ตรงกลางของจุกหน้า ดึงขึ้นในขณะที่ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับหนังยางกดลง เพื่อทำให้จุกหน้าโป่งออกมา แต่ถ้าหากยังโป่งไม่พอ ก็อาจใช้หวีหางหนูช่วยอีกที โดยใช้หางหวีดึงขนส่วนในออกมา

6. ใช้เจลทาผม หรือสเปรย์น้ำ ป้ายส่วนนอกเพื่อเก็บขนให้เป็นระเบียบ ดูเรียบร้อย หลังจากที่เจลแห้งแล้วก็ติดโบว์

7. หลังจากนั้นก็รวบจุกหลังอีกจุกหนึ่ง ให้เป็นรูปครึ่งวงกลมหรือจะเป็นรูปตัว V ก็ได้ แล้วแต่ความชอบแต่ที่สำคัญถ้าสุนัขหัวเล็กหรือขนที่หัวบาง ก็รวบขนให้ลึกลงไปอีกหน่อย

8. ต่อจากนั้นจะรัดหนังยางกับขนด้านหลังเหมือนกับที่รัดจุกหน้า แต่คราวนี้ให้ดึงขนมาทางด้านหน้าแทน

9. ผูกจุกหน้าและจุกหลังเข้าด้วยกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความยาวและความหนาของขน ถ้าขนไม่มากก็อาจจะแบ่งครึ่งหลังของของจุกหน้าผูกกับครึ่งหลังของจุกหลัง และถ้าเป็นรุ่น Baby หรือ Puppy ก็ไม่ต้องผูกติดกันก็ได้

10. หลังจากนั้นจะใช้ที่ม้วนผมม้วนเป็นกระจุกเล็กๆ ให้ทั่วทั้งหมดปล่อยให้เย็นแล้วหวีใหม่ให้เป็นเหมือนเดิม แล้วจึงยีแล้วหวีขนส่วนนอกให้เรียบ ขั้นตอนต่อไปก็เป็นการจัดทรงผมให้เป็นรูปร่างตามที่ชอบแล้วใช้สเปรย์ฉีดผมให้อยู่ทรง

11. .ถ้าหากว่าฝึกฝนอย่างตั้งใจ คุณก็จะได้จุกที่สวยและปลอดภัย

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การดูแลสุขภาพ





การทำหมัน 
     หากไม่ต้องการให้มีลูกสุนัขเกิดเกินจำนวนที่จะเลี้ยงได้ หรือเพื่อเสี่ยงกับการผสมพันธุ์ในครอกได้ลูกสุนัขผิดลักษณะ ควรทำหมันให้กับสุนัข นอกจากนั้น การทำหมันจะช่วยลดความวุ่นวาย เนื่องจากพฤติกรรมของสุนัขในช่วงฤดูผสมพันธุ์ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

     การทำหมันสุนัขตัวผู้ สามารถกระทำได้เมื่ออายุ 7-8 เดือนขึ้นไป สำหรับตัวเมียควรทำเมื่ออายุ 1 ปีขึ้นไป หรือหลังจากมีประจำเดือนครั้งแรกไปแล้ว 1 เดือน และไม่ควรทำหมัน เมื่อสุนัขมีอายุมากแล้ว



การป้องกันโรค
     ผู้เลี้ยงควรต้องมีเวลาให้กับสุนัข เพื่อทำความคุ้นเคยและศึกษาสุนัขแต่ละตัว ต้องคอยเอาใจใส่สังเกตความเป็นอยู่ การกินอาหาร การเปลี่ยนแปลงต่างๆ นอกจากนี้ควรจะต้องมีความรู้ พื้นฐานเกี่ยวกับสุนัข โรคต่างๆ เมื่อสุนัขเกิดอาการเจ็บป่วยจะได้นำไปรักษาได้ทันที

     โรคที่เกิดกับสุนัขมีหลายชนิด และมักเกิดการระบาดอยู่เสมอทุกปี หลายโรคอาจร้ายแรง  ทำให้สุนัขพิการหรือเสียชีวิต ทั้งอาจติดต่อถึงคนภายในบ้านด้วย การหมั่นเอาใจใสในตัวสุนัขและดูแลสุขภาพทั่วไปของสุนัข  จึงนับเป็นการป้องกันโรคเบื้องต้นที่ดีที่สุด อาการของสุนัขที่เริ่มป่วยสังเกตได้จาก อาการเซื่องซึม ไม่ร่างเริงแจ่มใส ไม่กินอาหาร  หรือกินอาหารน้องลง อาเจียน มีอาการท้องร่วง ท้องผูก ผอมลง  ขนหยาบกระด้าง  ผิวหนังเป็นผื่นแดง  ตาแฉะ  จมูกแห้งหรือมีน้ำมูก หากสุนัขมีอาการดังกล่าว ควรทำการรักษา  หรือนำสุนัขไปหาสัตวแพทย์

     โรคสุนัขหลายโรค สามารถป้องกันได้  โดยการฉีดวัคซีนตามกำหนดเวลาที่เหมาะสม หลังการฉีดวัคซีนควรงดอาบน้ำภายใน 1 สัปดาห์ เพราะสุนัขอาจมีไข้เล็กน้อยจากปฏิกิริยาต่อวัคซีน ดูแลให้สุนัขกินยาตามเวลาที่สัตวแพทย์กำหนด รวมทั้งควรแยกสุนัขตัวที่ป่วยออกจากตัวปกติ สิ่งที่ช่วยให้สุนัขรอดพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บได้อีกประการหนึ่ง คือ การรักษาความสะอาด ทั้งของสุนัขและสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย กำจัดเห็บ หมัด ยุง หนู หรือทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์ที่เป็นพาหะเหล่านี้



กำหนดการปฏิบัติ เพื่อป้องกันโรคของสุนัข

  อายุ                         ข้อปฏิบัติ
3 สัปดาห์      ตรวจอุจจารและถ่ายพยาธิ
2 เดือน        ฉีดวัคซีนป้องอกันโรคไข้หัดสุนัข โรคพาร์โวไวรัส เลปโตสไปโรซีส ตับอักเสบติดต่อ
3 เดือน        ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และถ่ายพยาธิ
4 เดือน        ฉีดซ้ำเช่นเดียวกับเมื่ออายุ 2 เดือน
6 เดือน        ตรวจเลือดเพื่อหาโรคพยาธิหนอนหัวใจและตรวจซ้ำทุก 6 เดือน
ทุกปี            พบสัตวแพทย์  เพื่อตรวจสุขภาพทั่วไป  ตรวจอุจจาระและถ่ายพยาธิทุก 6 เดือน
                  และฉีดวัคซีนซ้ำทุกอย่าง

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การทำคลอดสุนัข




การทำคลอดสุนัข


     กำหนดคลอดของแม่สุนัขอยู่ในราว 60-63 วัน หลังจากการผสมพันธุ์การเตรียมจัดที่คลอด จะต้องทำล่วงหน้า
     การให้ความอบอุ่นแก่ลูกสุนัข ขณะคลอดและหลังคลอด 2-3 วัน นับว่าสำคัญในอนาคตของ ลูกสุนัขมาก ลูกสุนัขได้รับอุณหภูมิจากตัวแม่ ด้วยความร้อน 101.4 องศาฟาเรนไฮ คือ เท่ากับอุณหภูมิของโลกภายนอก ดังนั้นอาหารที่จะให้แม่สุนัขในวันแรกๆ ควรจะต้องเป็นอาหาร ที่ก่อให้เกิดความร้อนในตัวเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องให้อาหารประเภทบำรุงความเติบโตแต่อย่างใด อย่างน้อยอุณหภูมิขณะคลอดและหลังคลอด 48 ชั่วโมง ควรจะเป็น 105 องศาฟาเรนไฮแต่จาก นั้นจะลดน้อยลงเรื่อยจนถึงปลายสัปดาห์แรกลูกสุนัขจะมีอุณหภูมิปกติและมีความสมบูรณ์ ที่คลอดนั้นที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือต้องเป็นที่เงียบ อย่าให้มีสุนัขรบกวนได้



สำหรับที่นอนของลูกสุนัข
     ลูกสุนัขนั้นควรเป็นหีบไม้แข็งแรง กว้างใหญ่พอเหมาะแก่จำนวนลูกสุนัข แต่ถ้าหากเป็นคอกเล็กๆ จะใช้หีบขาตะแคงก็เหมาะดีเหมือนกัน ถ้าใช้ชนิดหีบปิดฝาปิด  จะต้องปิดเปิดได้คล่องๆ



พื้นที่นอนคลอด
     ควรปูด้วยกระสอบที่สะอาด หรือวัตถุอื่น ซึ่งเวลาไม่ต้องการใช้จะได้ ทำลายเสียเลย โดยปกติแม่สุนัขมักจะชอบกัดแทะเครื่องปูนอนเหล่านี้เพื่อปรับปรุงที่นอนของมัน ฉะนั้นควรให้แม่สุนัขคุ้นเคยกับที่นอนของมันสัก 1-2 สัปดาห์ก่อนวันคลอด



การออกกำลังให้สุนัข
     ขณะมีครรภ์นับว่าสำคัญมาก  จะละเลยเสียมิได้  จนกระทั่งถึงสัปดาห์สุดท้าย แม้ตัวมันจะหนักอุ้ยอ้ายสักเพียงไร ก็ควรให้เดินในระยะใกล้ๆ และที่เงียบๆ ควรให้เล่นกับสุนัขอื่นๆ บ้างเป็นครั้งคราว ยิ่งใกล้วันคลอดแม่สุนัขจะเริ่มจัดรังนอนของเขา ด้วยการกัดสิ่งของที่เขาพบอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ฉะนั้นหากจะใช้ผ้าห่มดีๆ แล้วไม่ควรให้เขาในระยะนี้



อาการแสดงว่าจะคลอดนั้นคือ
     ช่องคลอดจะบวมโตและนุ่ม จะมีเมือกลื่นๆ ไหลออกมา สุนัขจะไม่ยอมกินอาหาร และแสดงว่าจะคลอด อาการเช่นนี้จะมาก่อนการคลอดจริงราวๆ 24 ชั่วโมง

     ระยะที่ 2 เมื่อการคลอดจะสำเร็จผล ก็ต่อเมื่อมดลูกทำการบีบรัดตัวและบีบลูกสุนัขให้ผ่านจากช่อง คลอดออกมา ขณะนี้แม่สุนัขจะรู้สึกเจ็บปวดยิ่งขึ้นและร้องครวญคราง อาจเป็นเสียงดังหรือเสียงแหลมเป็นระยะๆ และก็ดังยิ่งขึ้น ในไม่ช้าก็จะมีเมือกลื่นๆ ไหลออกจากช่องคลอด ตามธรรมดาลูกสุนัขจะโผล่หัวและขาหน้าก่อน แต่ก็มีบ่อยที่หางออกก่อน โดยปราศจากความลำบาก เว้นแต่จะเป็นลูกสุนัขนั้นหัวโต การคลอดในลักษณะอย่างนี้จะทำให้เจ็บปวดและยุ่งยาก ขณะที่หัวสุนัขโผล่ออกมา นั้นเองแม่สุนัขจะได้รับความเจ็บปวดและร้องดัง ตามธรรมดาลูกสุนัขขณะคลอดจะถูกหุ้มอยู่ในถุง เยื่อเหนียวๆ ซึ่งแม่สุนัขจะกัดเลีย เพื่อแยกให้ลูกออกมา แต่ถ้าหากมันทำเองไม่สำเร็จ ผู้พยาบาลต้องคอยช่วยเหลือเขาทันที มิฉะนั้นลูกสุนัขจะตาย

     ลูกสุนัขขณะคลอดออกมา  จะยังคงถูกล่ามกับแม่ของเขาโดยสายสะดือ ซึ่งติดต่อไปยังรก และรกนี้ก็ออกมาจากช่องคลอดของแม่สุนัข หลังจากลูกสุนัขได้คลอดออกมาแล้ว รกนี้แม่สุนัขจะกินทันที และขบไต่ไปตามสายสะดือ จนกระทั่งเกือบถึงสะดือของลูกสุนัข ถ้าหากแม่สุนัขไม่ทำเช่นนั้นผู้พยาบาล จะต้องรีบตัดสายสะดือ  ให้ห่างสายสะดือของลูกสุนัข 1 คืบด้วยกรรไกรที่สะอาด แล้วมัดด้วยด้าย เหนียวๆ สายสะดือที่แห้งจะหลุดออกมาพร้อมกับด้ายที่มัดภายในไม่กี่วัน

     ต่อจากนั้นแม่สุนัขก็จะเข้าเลียลูกของเขาให้แห้ง และในขณะนี้เอง ลูกสุนัขตัวที่อยู่ในท้องก็จะ เคลื่อนออกมา แม่สุนัขก็จะจัดการกับลูกสุนัขเช่นเดียวกับวิธีการที่กล่าวมาแล้ว  จนกระทั่งคลอดเป็นตัวสุดท้าย บางครั้งลูกสุนัขคลอดมาเร็วมาก แม่สุนัขไม่ทันที่จะมีเวลาเลียลูกตัวที่ออกก่อนให้แห้ง ถ้าเป็นเช่นนี้ ผู้พยาบาลต้องใช้ผ้าเช็ดตัวอุ่นๆ เช็ดให้แห้ง  แล้วนำไปไว้เสียอีกมุมหนึ่ง อย่างไรก็ดีจะปล่อยให้ลูกสุนัขให้เปียกชื้นและหนาวสั่นย่อมเป็นอันตราย ระหว่างคลอดหากแม่สุนัขแสดงอาการอ่อนเพลีย ควรจะให้นมอุ่นๆ แก่แม่สุนัขสักหน่อย ในระหว่างที่คลอดลูกยังไม่หมด และเมื่อคลอดหมดแล้ว ก็ควรให้ต่อไปอีกสักถ้วย  แล้วจึงปล่อยให้แม่สุนัขนอนกับลูกสัก 1-2 ชั่วโมง หลังจากนี้จึงควร ให้ทั้งลูกและแม่สุนัขขึ้นนอนในที่ๆ มีความอบอุ่นและสงบเงียบ



การดูแลบำรุงเลี้ยง
     สัก 2-3 ชั่วโมงต่อมา แม่สุนัขก็จะออกจากที่นอนมาถ่ายมูล ขณะนี้ควรให้อาหารน้ำอุ่นๆ แก่แม่สุนัข ขณะนี้ แม่สุนัขย่อมอยู่ในอาการที่ธาตุไม่ปกติ ในระหว่างที่ต้องทำการคลอดลูก และถ้าหากมันกินรกเข้าไปด้วย นักเพาะเลี้ยงสุนัขบางท่าน ไม่ยอมให้แม่สุนัขกินรกหรือเครื่องในของเขาเอง แต่ก็ต้องถือว่าเป็นสัญชาตญาณของสัตว์อย่างหนึ่ง แต่ในการที่เขาได้กินอวัยวะภายในสดๆ ของตัวเขาเองเข้าไปเช่นนั้นก็ย่อมได้ รับฮอร์โมนหรือน้ำสกัดของชีวิต



การดูแลภายหลังการคลอด
     หลังการคลอดสัก 2-3 ชั่วโมง แม่สุนัขควรได้รับการเอาใจ และควรให้ได้กินอาหารเหลวๆ อุ่นๆ ถ้าเขากินรกเข้าไป  ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เอง  ที่ท้องของเขาจะไม่เป็นปกติในระหว่าง 2-3 วันแรกหลังการคลอด มูลที่ถ่ายออกมาจะมีสีดำคล้ายน้ำมันดิน ทั้งนี้เนื่องจากโลหิตที่กินเข้าไป ในระยะวันหรือสองวันแรก ควรสังเกตแม่สุนัขให้ดี เพราะว่าลูกสุนัขยังค้างอยู่ในท้องหรือไม่ ตามที่ทราบกันมาอาจเป็นเช่นนั้นได้ ถ้าหากเป็นเช่นนั้น  ก็จะสังเกตได้ว่าแม่สุนัขจะพยายามเบ่งเหมือนเมื่อทำการคลอดใหม่ๆ ในกรณีเช่น นี้ให้ไปตามสัตวแพทย์มาทำการผ่าตัดโดยด่วน ผู้ที่มีความชำนาญอาจใช้นิ้วมือที่ชุบยาฆ่าเชื้อ  แล้วล้วง เข้าไปในช่องคลอด  เพื่อทำการตรวจสอบอย่างระมัดระวัง หากเห็นว่ามีอะไรผิดปกติจะเรียกสัตวแพทย์ มาทำการผ่าตัดโดยไม่ชักช้า บางทีอาจมีอุปสรรคอันร้ายแรง  เนื่องจากตำแหน่งที่ลูกสุนัขติดอยู่นั้นจำ เป็นต้องทำการผ่าตัดเอาออกทันที ในกรณีนี้ การชักช้าอยู่นานเท่าไร  ก็เป็นอันตรายมากเท่านั้น เป็นธรรมดาที่แม่สุนัขจะมีโลหิตออกมาเปื้อนเปรอะอยู่เป็นเวลาหลายวันหลังการคลอดแล้ว มันจะค่อยๆ จางลงๆ และจะหยุดในปลายสัปดาห์ที่ หรือ 2 ตามธรรมดาอุณหภูมิ (ปรอท) จะขึ้นสูงหนึ่งดีกรีหรือ ราวๆ นั้นหลังคลอดแล้วเขาควรจะกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติในราว 8 ชั่วโมง ต่อมาถ้ามีไข้ขึ้นสูงก็จะแสดง ให้ทราบว่า มีอะไรผิดปกติและต้องคอยตรวจสอบดูแลโดยไม่ชักช้า



การคลอดผิดปกติ
     คำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับการคลอดที่ไม่ปกติ  ผิดไปจากธรรมดา  ก็ควรพบให้สัตวแพทย์ช่วยโดยด่วน ความลำบากในการคลอด  อาจเป็นด้วยว่าลูกสุนัขอยู่ในท่าผิดปกติ  เนื่องจากความอ่อนแอ การหดตัวของมดลูก หรือรูปร่างของแม่สุนัขผิดส่วนสัด และอาการเหล่านี้ผู้สมัครเล่น  ไม่อาจจะแก้ให้หายได้ การกระทำง่ายๆ บางทีอาจจะทำให้ลูกสุนัขออกมาได้  แต่อย่างไรก็ดีในเรื่องนี้จำเป็นต้องมีความรู้ เกี่ยวกับกายวิภาควิทยา  และมีความชำนาญในการตรวจรู้ได้ว่าอะไรผิดปกติ  และสามารถแก้ไขให้ดีได้ หลักสำคัญยิ่งในการคลอด  ก็คือให้ตามสัตวแพทย์ ถ้าแม่สุนัขทำการเบ่งจนอ่อนกำลังลง (มีอาการ หอบเบ่ง) มาเป็นเวลาถึง 3  ชั่วโมงแล้ว ลูกสุนัขยังไม่ออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าถุงเยื่อหุ้มโผล่มา และแตกไปแล้ว อาการเช่นนี้  ควรจัดการโดยด่วน  ไม่ว่าเป็นการคลอดลูกสุนัขตัวแรก  หรือตัวอื่นถัดไปก็ตาม การทอดระยะออกของลูกสุนัขจะห่างกันราว 15 ถึง 30 นาที  แต่อาจจะออกถี่กว่านี้ก็ได้ การดูแลระหว่างคลอด ควรจะสังเกตุดูด้วยความเอาใจใส่เป็นอย่างดี  ถ้าผิดปกติควรให้ไปตามหมอสัตวแพทย์ทันที ซึ่งเป็นหนทางที่ดีที่สุด  ในการที่จะหลีกเลี่ยงการสูญเสียแม่สุนัขที่ดีไป