วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเลี้ยงดูสุนัขขณะตั้งครรภ์ ตอนที่ 2



ดูแลยามคลอด


การดูแลขณะคลอด


     ขณะที่แม่สุนัขที่พร้อมจะคลอดลูก เจ้าของสุนัขควรคอยดูแลอยู่ห่างๆ เว้นแต่ในรายของสุนัขที่คลอดยากหรือมีแรงบีบตัวของมดลูกน้อย ในกรณีนี้เจ้าของสามารถช่วยเหลือสุนัขได้ โดย.-

     1. ควรช่วยดึงลูกสุนัขเบาๆ โดยใช้ผ้าสะอาดหรือผ้า Gauze จับลูกสุนัข การดึงต้องทำด้วยวิธีที่นุ่มนวลมากที่สุด และด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ

     2. หลังจากที่ช่วยดึงลูกสุนัขออกมาแล้ว จะต้องรีบดึงเยื่อเมือกที่หุ้มตัวลูกสุนัขออกให้หมด โดยเฉพาะส่วนหัว ควรล้างเอาเยื่อเมือกต่างๆ ออกจากปากและหลอดลม ขณะเดียวกันอาจจะจับลูกสุนัขเอาหัวลง สะบัดให้เยื่อเมือกออกจากปาก ลูกสุนัขจะเริ่มต้นหายใจ

     3. ทำการตัดสายสะดือ โดยใช้ไหม (Silk) ที่ได้รับการฆ่าเชื้อโรคผูก และตัดสายสะดือห่างจากผนังช่องท้องประมาณ 1.5 นิ้ว

     4. ใช้ผ้าแห้งที่สะอาดเช็ดเยื่อเมือกต่างๆ ทั่วตัวลูกสุนัข เป็นการกระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิตและระบบการหายใจ

     5. นำลูกสุนัขที่คลอดไปรับน้ำนมแรกคลอดจากแม่ โดยเร็วที่สุด เพราะมีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ที่จะสามารถ่ายทอดจากแม่มาสู่ลูกสุนัขได้ ถ้าไม่สามารถทำการช่วยเหลือได้ เช่น ลูกสุนัขมีขนาดใหญ่มาก ควรพาไปพบสัตวแพทย์


แม่สุนัขหลังคลอดลูกและเลี้ยงลูก

     อาหารที่ใช้เลี้ยงสุนัขที่เลี้ยงลูกไม่ได้ มีให้เฉพาะแม่สุนัขเท่านั้น แต่มันจะต้องถ่ายทอดไปให้ลูกสุนัขด้วย โดยการเปลี่ยนเป็นนม  ฉะนั้นปริมาณอาหารที่แม่สุนัขจะได้รับจะต้องเพิ่มขึ้น โดย.-

     สัปดาห์แรก     เพิ่มเท่าครึ่งจากปกติ
     สัปดาห์ที่ 2     เพิ่มเป็น 2 เท่า
     สัปดาห์ที่ 3     เพิ่มเป็น 3 เท่า

     สิ่งที่ต้องเสริมเพิ่มเติมแก่แม่สุนัข ได้แก่ แร่ธาตุ คือแคลเซียมและฟอสฟอรัส เพราะแม่สุนัขให้นมลูก ทำให้ปริมาณแคลเซียมก็จะลดลงจนถึงระดับที่เกิดการขาดแร่ธาตุที่เราเรียกว่าภาวะแคลเซียมต่ำ

     แม่สุนัขจะแสดงอาการชัด เกร็ง น้ำลายไหลยืด ตัวร้อนจัด ซึ่งจะเรียกว่า Milk Fever หลังใช้น้ำนม เมื่อเจ้าของนำสุนัขไปพบสัตวแพทย์ ซึ่งสัตวแพทย์จะฉีดแคลเซียมให้ อาการจะทุเลาลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ทางที่ดีควรมีการป้องกันไว้ โดยการเพิ่มเติมแคลเซียมลงไปในอาหารของแม่สุนัขเลี้ยงลูกตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ พร้อมกับให้จากแหล่งอาหารธรรมชาติ คือ นม ซึ่งจะเป็นการป้องกันปัญหาได้ดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น